การผ่าตัดริดสีดวงทวาร คือ ?
การผ่าตัดริดสีดวงทวาร คือ วิธีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวง ในระยะที่ติ่งเนื้อยื่นบริเวณทวารหนักและไม่สามารถดันกลับเข้าไปด้านใน ซึ่งแพทย์จะผ่าตัดเส้นเลือดที่ติ่งเนื้อเพื่อทำให้เนื้อเยื่อยุบลง ปัจจุบันการผ่าตัดริดสีดวงทวารมีหลากหลายวิธีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ให้ผู้เข้ารับการรักษามีแผลผ่าตัดน้อยและเจ็บน้อยลง
ปัจจัยที่ทำให้เกิดริดสีดวง
สุขลักษณะนิสัยการขับถ่ายที่ผิดปกติ เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย การเสื่อมลงของเส้นเลือดและกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยน้อย หญิงตั้งครรภ์ทำให้ถ่ายอุจจาระไม่สะดวก อุปนิสัยการเบ่งอุจจาระอย่างมากเพื่อพยายามขับอุจจาระก้อนสุดท้ายให้ออกไป ชอบใช้ยาสวนอุจจาระ หรือยาระบายพร่ำเพรื่อ ภาวะโรคตับแข็งทำให้เลือดดำไหลเข้าตับไม่ได้ ส่งผลให้เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักโป่งพอง การเพิ่มของความดันภายในช่องท้องเป็นเวลานาน เช่น การยกของหนักเป็นประจำ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออก อาจจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรือภาวะขาดเลือดจนความดันโลหิตต่ำ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ได้
ลิ่มเลือดอุดตันในหัวริดสีดวงทวาร ติ่งเนื้อริดสีดวงเป็นก้อนเพราะมีก้อนเลือดอุดตันจับตัวกันเป็นก้อนอยู่ภายใน จึงทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด การบีบรัดของรูหูดทวารหนัก ทำให้เกิดภาวะขาดเลือดในหัวริดสีดวง เมื่อติ่งเนื้อไม่มีเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นจะทำให้เกิดภาวะขาดเลือดและเกิดการหดตัวของหูรูดทวารหนักจนเกิดอาการบวม อักเสบ และเน่ามีกลิ่นเหม็น
การผ่าตัดริดสีดวงเหมาะสำหรับใคร
การผ่าตัดริดสีดวง ส่วนมักจะผ่าตัดรักษาโรคริดสีดวงในชนิดรุนแรงมีติ่งเนื้อยื่นออกมา ซึ่งเหมาะกับกลุ่มผู้ป่วย ดังนี้
–ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงภายในระยะที่ 3
– ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงภายในระยะที่ 4
– ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงภายนอก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มักพบอาการเนื้อเยื่อยื่นออกมาบริเวณทวารหนัก เจ็บขณะขับถ่ายอุจจาระ ถ่ายออกมาเป็นลิ่มเลือด มีเนื้อยื่นออกมาบริเวณทวารหนักต้องใช้นิ้วดันกลับเข้าไป ซึ่งบางรายอาจเจ็บบริเวณทวารหนักจนขับถ่ายไม่ได้
อาการของริดสีดวง
– มีเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระหรือหลังการอุจจาระ
– มีติ่งหรือหรือก้อนที่ทวารหนักอาจมีอาการคัน ปวด เจ็บ บริเวณที่เป็นริดสีดวง
การป้องกันตนเองจากริดสีดวง
- รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงมีส่วนช่วยให้ระบบขับถ่ายสามารถขับถ่ายได้ลื่นไหล ไม่ติดขัดจนทำให้เกิดโรค คือ
– ธัญพืชชนิดต่าง ๆ ที่ยังไม่มีการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เล่ย์ โฮลวีท เป็นต้น
– ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี ผักกาดขาว เป็นต้น
– ถั่วชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ เป็นต้น
- ควรดื่มน้ำวันละ 8 -10 แก้ว เพื่อให้ขับถ่ายได้ง่าย
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารแปรรูป หรือของหมักดองทุกชนิด เช่น เบค่อน ชีส ปลาร้า หอยดอง ปลาส้ม เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เนื่องจากเครื่องดื่มเหล่านี้มีผลต่อลำไส้ ทำให้เกิดอาการท้องผูก อุจจาระไม่ออก ก่อให้เกิดริดสีดวงอักเสบ หรือบวมได้
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น อาหารรสเผ็ด เพราะจะมีผลต่อการทำงานของลำไส้และระบบขับถ่ายโดยตรง
- หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงผักและผลไม้บางชนิด เช่น ทุเรียน ละมุด สะตอ ชะอม กระถิน เป็นต้น เพราะผักที่มีฤทธิ์ร้อน หรือผลไม้ที่มีรสหวานมากอาจจะส่งผลให้ริดสีดวงอักเสบได้
- หลีกเลี่ยงอาหารทะเลทุกชนิดระหว่างการรักษาริดสีดวง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นของทอด เพราะย่อยยาก และอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำส่งผลให้เกิดความดันในเลือดสูง มีผลต่อริดสีดวงได้
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวง
สำหรับการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวง ผู้ป่วยจะต้องเตรียมตัวผ่าตัดอย่างน้อย 1 วัน มีดังนี้
1.งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
2.ผู้ป่วยจะถูกเข้าส่งตรวจเช็กคร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าผ่าตัด
3.แพทย์จะเจาะเลือด X- ray ปอด ถ้าคนป่วยอายุ 40 ปี จะตรวจคลื่นไฟฟ้าร่วมด้วย
4.วิสัญญีแพทย์ตรวจเยี่ยมอาการก่อนผ่าตัดอีกครั้ง
5.ผู้ป่วยต้องทำการถ่ายท้องและถ่ายยาระบายก่อนผ่าตัด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และสวนอุจจาระเพื่อเตรียมผ่าตัด
6.ในระหว่างผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะให้ยาสลบ จัดนอนหงายท่าเตรียมผ่าตัด
7.แพทย์จะให้ดมยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าที่กระดูกไขสันหลัง ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง
วิธีป้องกันโรคริดสีดวงทวาร ไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ
ขับถ่ายเป็นเวลา และ ไม่นั่งขับถ่ายเป็นเวลานาน
รับประทานผักผลไม้ให้มากขึ้น จะช่วยเพิ่มกากใยอาหาร กระตุ้นการขับถ่ายให้ง่ายขึ้น อุจจาระไม่เป็นก้อนแข็ง
ดื่มน้ำให้มาก สม่ำเสมอ อุจจาระจะไม่แห้งแข็ง ขับถ่ายได้ง่าย
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ขับถ่ายได้คล่องขึ้น